วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หยางกุ้ยเฟย "มวลผกาละอายนาง"


มัจฉาจมวารี                   ปักษีตกนภา
จันทร์หลบโฉมสุดา          มวลผกาละอายนา


หยางกุ้ยเฟย (อังกฤษ: Yang Guifei ; จีน:) พระนามเดิมคือ หยางอี้หวน (อังกฤษ: Yang Yuhuan ; จีน:) เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 719 สิ้นพระชนม์ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 756 เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน
กล่าวกันว่า หยางกุ้ยเฟยทรงเป็นสตรีที่มีความงามเป็นเลิศ ใช้ชนม์ชีพในรัชสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับฉายานามว่า "มวลผกาละอายนาง" (จีน: ??; พินอิน: xi? hu?) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย" (a face that would make all flowers feel shameful)
หยางกุ้ยเฟยเป็นพระสนมเอกในจักรพรรดิถังเสวียนจง ของราชวงศ์ถัง อิทธิพลของหยางกุ้ยเฟยทำให้ญาติของพระนางขึ้นมามีบทบาทในราชสำนัก ในภายหลังเกิดการกบฎ ฮ่องเต้ถังเสวียนจงได้มีพระบรมราชโองการให้พระนางสำเร็จโทษโดยแขวนพระศอสิ้นพระชนม์ชีพ โดยใช้ผ้าแพรของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ระหว่างการหลบหนี โดยที่หยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง 37 ปี
หลังจากที่หยางกุ้ยเฟยฆ่าตัวตายไปแล้ว ไม่มีภาพวาดของนางปรากฏให้เห็นอีกเลย อีกทั้งตระกูลหยาง ยังถูกตัดสินฆ่าล้างทั้งตระกูล จนบัดเดี๋ยวนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังมีหลักฐานเกี่ยวกับ หยางกุ้ยเฟยหลงเหลืออีกหรือไม่

หวังเจาจวิน "ปักษีตกนภา"







หวังเจาจวิน (อังกฤษ: Wang Zhaojun จีน: ???) ชื่อจริงคือ หวังเฉียง (อังกฤษ: Wang Qiangจีน: ??, ??, ??) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน
หวังเจาจวินได้รับฉายานามว่า "ปักษีตกนภา" (จีน: ?? พินอิน: lu? y?n) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า" (so beautiful as to make flying geese fall)
หวังเจาจวินเดิมเป็นนางกำนัลในวังหลวง ที่ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นส่งไปให้แก่ข่านของเผ่าซงหนู เพื่อกระชับสัมพันธ์ไมตรี
หวังเจาจวินเกิดในตระกูลผู้มั่งคัง ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เธอถูกส่งเข้าเป็นนางกำนัลในจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ก่อน พ.ศ. 504หรือ 39ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม พระจักรพรรดิไม่ทรงได้เคยพบเห็นหวังเจาจวินเลยแม้แต่ครั้งเดียว แม้ในยามที่พระจักรพรรดิทรงเลือกนางสนมใหม่จากภาพนางกำนัลที่ทรงมี และมีศักดิ์สูงพอที่จะเป็นพระสนม ภาพวาดของหวังเจาจวินก็ไม่ใช้ภาพที่นำเสนอความงามที่แท้จริงของนาง ดังนั้นพระจักรพรรดิจึงทรงมองข้ามนางไป
พ.ศ. 511หรือ 32ปีก่อนคริสตกาล หู ฮันเซีย ผู้นำเผ่าซงหนูเดินทางมาเยือนฉางอันตามธรรมเนียมระหว่างฮั่นและซงหนู เขาก็ถือโอกาสขอพระราชทานธิดาจากพระจักรพรรดิเพื่อที่จะผูกสัมพันธ์เป็นราชบุตรเขยของพระจักรพรรดิ แต่แทนที่พระจักรพรรดิจะทรงส่งพระธิดาให้หู ฮันเซียตามที่ขอมา กลับทางเลือกนางกำนัล 5 นางมาให้ผู้นำเผ่าซงหนูเลือกเอาเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ หวังเจาจวิน
ใน Book of the Later Han กล่าวว่า หวังเจาจวินอาสาที่จะไปเชื่อมสัมพันธ์กับเผ่าซงหนูด้วยตัวเอง เมื่อนางได้ไปปรากฏตัวในท้องพระโรง ความงามของนางถึงกับสะกดขุนนางทั่วทั้งท้องพระโรง รวมทั้งพระจักรพรรดิด้วย จนพระองค์ถึงกับทบทวนแนวพระราชดำริที่จะส่งนางไปยังซงหนู
หวังเจาจวินกลายมาเป็นภริยาคนโปรดของหู ฮันเซีย มีลูกชายด้วยกัน 2คน คนหนึ่งดูเหมือนว่าจะมีชีวิตรอดมาได้ และมีลูกสาวอีกอย่างน้อย 1 คน พ.ศ. 513 หู ฮันเซียถึงแก่กรรม นางยื่นฎีกาถึงพระจักรพรรดิฮั่นฉางตี้ ขอเดินทางกลับฉางอัน แต่ทรงปฏิเสธและสั่งให้นางทำตามธรรมเนียมของชาวซงหนู คือตกเป็นภริยาของผู้นำคนใหม่ของเผ่าซงหนู ซึ่งก็คือพี่ชายคนโตของหู ฮันเซีย หลังการแต่งงานใหม่ เธอมีลูกสาวอีก 2คน
ยังมีตำนานอื่นที่กล่าวว่า หวังเจาจวินตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการแต่งงานกับลูกชายตัวเอง
เรื่องราวของเธอกลายมาเป็นตำนาน "การเดินทางของหวังเจาจวินสู่นอกด่าน" (????) และทำให้สันติภาพระหว่างซุงหนู กับจีนดำเนินมาได้ถึง 60 ปี อย่างไรก็ตาม ในที่สุดทางจีนก็ขาดการติดต่อกับเชื้อสายของเธอ
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3เป็นต้นมา เรื่องราวของเธอได้ถูกตบแต่งขึ้นมา และเธอถูกเล่าขานในลักษณะของวีรสตรีที่น่าสงสาร พรรคคอมมิวนิสต์จีน ใช้เรื่องราวของเธอเป็นสัญลักษณ์แห่งสายสัมพันธ์ระหว่างชาวฮั่นและชนชาติอื่นๆ ในจีน ปัจจุบันสุสานของเธอยังคงปรากฏในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน

ไซซี"มัจฉาจมวารี"





ไซซี ตามสำเนียงแต้จิ๋ว หรือ ซี ซือ ตามสำเนียงกลาง (จีน: ??; พินอิน: X? Sh?; อังกฤษ: Xi Shi) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ 506 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียงในรัฐเย่ว์ (State of Yue)
ไซซีได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (จีน: ?? พินอิน: ch?n y?) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ" (so beautiful as to make swimming fish sink)
ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ
ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐเยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน (แต้ตัน) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่ (เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด
ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น



ซัวบุนกี/ไซ่เหวินจี

ซัวบุนกี/ไซ่เหวินจี - Cai Yan 



เมื่อก่อนสมัย สามก๊ก ได้มีสตรี 2 นาง มีชื่อบนหน้าประวัติศาสตร์จีนคือ นาง ปันเจา (ปัวเจียว) และนาง ไฉย่าน (ฉั่วเอี๋ยม) 

จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ ตำแหน่งหน้าที่ของนาง ปันเจา นั้นสูงส่งกว่านาง ไฉย่าน แต่ทางด้านวรรณกรรม นาง ไฉย่าน เป็นสตรีที่ขึ้นชื่ออันดับที่ 1 

“ไฉย่าน (ฉั่วเอี๋ยม..ชัวเอี๋ยม) จื้อ เหวินจี (บุ่งกี..ชัวบุ่งกี) เป็นบุตรีของบัณฑิตอาวุโสในปลายรัชสมัยราชวงศ์ ฮั่น ไฉยง (ฉั่วเอว้ง..ชัวหยง) จื้อ ป๋อจี้ (เปะไก่) 

นางได้ใช้ชีวิตการศึกษาด้วยความมานะพยายามยากลำบาก ชั่วชีวิตการเป็นบัณฑิตของนาง เป็นตัวอย่างที่กล่าวขวัญกันในเหล่านักศึกษาวรรณกรรมของจีน 

บทความของนาง บทกวีน่าน่าสะเทือนใจ และท่วงทำนองเพลงขลุ่ยของชนเผ่า หู (โอ้ว) 18 ท่วงทำนองเป็นที่ประทับใจมีชื่อเสียงอันโด่งดัง 

18 ท่วงทำนองนางได้แต่งขึ้นเมื่อภายหลังที่นางถูกพวกชนเผ่า ซงหนู (เฮืองโน้ว) จับตัวไป 

ปัจจุบันได้หายสาบสูญไปแล้ว 

บิดาของ ชัวบุ่งกี เป็นบัณฑิตนักกวีที่มีชื่อเสียงอันโด่งดังในสมัยนั้น บทความของเขา จัดได้ว่ามีชื่อเสียงดีที่สุดนับแต่จีนมีประวัติศาสตร์ 

ส่วนการศึกษาของ บุ่งกี ส่วนใหญ่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดา ด้วยว่า ชีวิตในวัยเด็กของนางนั้น นับว่ามีสุขอุดมสมบูรณ์ 

เหล่าสานุศิษย์และเหล่าบัณฑิตร่วมสมัยของ ชัวหยง ต่างพากันยกย่องสรรเสริญ บ้านครอบครัวของเขา ต่างมีแขกมาคบค้าไปมาหาสู่มิขาดสาย หนังสือ โฮ่วฮั่น (เอาหั่ง..หนังสือบันทึกขึ้นภายหลั'ราชวงศ์ ฮั่น) มีบันทึกว่า 

“บ้านของเขา มีบรรดาเหล่ารถม้ามาจอดรอเต็มถึงปากซอย” 

นั่นย่อมแสดงว่า บ้านครอบครัวของเขา มีแขกมาเยือนเต็มทุก ๆ วัน แม้แต่บัณฑิตชื่อดัง หวางชาน (เฮ่งฉั่ง) เมื่อตอนวัยหนุ่มก็มักมาเยือนเขาที่บ้านเป็นประจำ และได้รับการถ่ายทอดวิชาที่มีคุณภาพจากเขาไปจำนวนมิใช่น้อย 

ส่วนตัว บุ่งกี เอง เมื่อตอนเป็นเด็กวัยรุ่น ก็ได้สัมผัสวิสาสะกับเหล่าบัณฑิตมิใช่น้อย ดั่งนั้น เด็กที่มีพรสวรรค์ ประจวบกับในสิ่งแวดล้อมที่ดี ความรู้วิชาการของนางจึ่งเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มิอาจบรรยายสรรพคุณได้ 

ชัวหยง ก็เอ็นดูรักใคร่บุตรี บุ่งกี อย่างดีทะนุถนอมดั่งดวงใจ เข้าใจว่า ชัวหยง ต้องการให้บุตรี บุ่งกี สืบทอดความรู้ไปจากเขา 

นี้คือชีวิตความเป็นอยู่อันมีความสุขของ บุ่งกี เมื่อตอนเด็ก 

และว่า ฉั่วเปะไก่ คนนี้ ได้ถูกเหล่าชาวบ้านพากันร่ำลือถึงชีวิตรักอันน่าอัปยศของเขา กล่าวนินทากันว่า เมื่อเขามีฐานะร่ำรวยขึ้น เขามิยอมรับนาง เจ้าอู่เหนียน (เตียวโง่วเนี้ย) เป็นภรรยา แต่กลับไปรักใคร่กับบุตรีของอุปราช ฯ ล ฯ 

เรื่องราวของเขาถูกแต่งเป็นนิยายอันลือลั่น เล่นงิ้วกันอย่างสนุกสนาน แม่กระทั่งปัจจุบัน ยังมีการแสดงงิ้วตามนิยายของนาง เจ้าอู่เหนียน ซึ่งเรื่อราวทั้งหมดนั้นล้วนเหลวไหลทั้งแพ 

แต่ทว่าเรื่องเหลวไหลเช่นนี้ กลับมีประวัติการร่ำลื่อแสดงเรื่องราวเป็นงิ้ว ตกทอดมาตลอดด้วยกาลสมัยนับเป็นพันปี 

เมื่อถึงราชวงศ์ ซ้อง เรื่องราวการแสดงงิ้วและการขับร้องตามนิยายของนาง เจ้าอู่เหนียน โด่งดังยิ่ง เป็นที่กล่าวขวัญกันมิรู้จบ บัณฑิตร่วนสมัยนั้น ลู่อิ๋ว (เล็กอิ้ว) ได้แต่งเป็นบทกวี 2 บทว่า 

“ตายแล้วมีอาจถกเถียงได้ ข้ามหมู่บ้านไปกลับฟังทำนองเพลงของ ไฉจงหลาน (ฉั่วตงนึ้ง)” 

ชัวหยง เคยรับตำแหน่งทางราชการเป็น จงหลานเจี้ยน (ตงนึ่งเจี่ยง) เหล่าชาวบ้านทั่ว ๆ ไป และแม้กระทั่งปัจจุบัน ได้นำชื่อยศตำแหน่ง ไฉจงหลาน ของเขามาล้อเล่น 

กล่าวมาก่อนหน้าว่า ชัวบุ่งกี มีพรสวรรค์ เมื่อตอนเด็ก ความสามารถทางดนตรีของนางก็มีแววปรากฏ 

ตามชีวประวัติสมัยเด็กของ หลิวเจา (เล่าเจียว) มีบันทึกตอนหนึ่งกล่าวถึง ชัวหยง และ ชัวบุ่งกี ว่า 

“คืนวันหนึ่ง ชัวหยง กำลังเล่นตีขิม ทันใดนั้นสายขิมขาดไป 1 เส้น บุ่งกี ยังมิทันเห็นสายขิม นางได้กล่าว่า สายขิมขาดเส้นที่ 2 ชัวหยง มิเชื่อว่าเป็นพรสวรรค์ความสามารถของนาง นางกล่าวด้วยความบังเอิญมากกว่า บุ่งกี ก็มิสนใจ แต่เมื่อ ชัวหบง เล่นขิมต่อไปสักชั่วขณะ สายขิมก็ขาดลงอีกเป็นสายขิมเส้นที่ 4 จึ่งได้ถามบุตรีว่า สายขิมขาดไปเส้นที่เท่าไหร่ บุ่งกี ตอบอย่างเงียบสงบว่า เป็นสายขิมเส้นที่ 4..” 

จากเรื่องดังกล่าว แสดงว่า ชัวบุ่งกี มีความสามารถอันเป็นพรสวรรค์ทางดนตรีมาตั้งแต่เด็ก 

การแต่งงานครั้งแรกของนาง นางได้ตกแต่งเป็นภรรยาของ เว่ยจงเต้า (เอว่ยตงเต๋า) คนชาวเมือง เหอจง (ฮ่อตัง) ชีวิตภายหลังการแต่งงาน มีความสุขอย่างราบรื่น แต่ทว่า ร่างกายของสามีของนางอ่อนแอมิเข็งแรง นางแต่งงานได้มินาน สามีก็มีอันเป็นไป และมีมิบุตรหรือบุตรี 

บุ่งกี จึ่งได้กลับบ้านเดิมของบิดา ใช้ชีวิตร่วมกับบิดา 

คฤหาสถ์ของเขานั้นอยู่ในตัวเมืองนคร ลั่วหยาน ชัวหยง เดิมเป็นชนชาวเมือง เฉินหลิว (ตั่งลิ้ว) ปัจจุบันอยู่ริมเขตแดนของมณฑล เหอหนาน เนื่องจากทำหน้าที่ราชการ จึ่งได้ย้ายมาอยู่เมืองหลวง 

ขณะนั้น เป็นปลายยุคสมัยของราชวงศ์ ฮั่น บ้านเมืองเริ่มเกิดความจลาจลวุ่นวาย ตั๋งโต๊ะ ยึดครองอำนาจ โจโฉ ได้ร่วมมือกับเหล่ากองทัพสัมพันธ์มิตร 18 หัวเมือง บุกโค่น ตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะ จึ่งได้โยกย้ายเมืองหลวงจากนคร ลั่วหยาน ไป ณ นคร ฉานอาน 

ทำความทุกข์ยากลำบากให้กับเหล่าประชาชน เกิดเป็นความจลาจลวุ่นวายปล้นฆ่าช่วงชิงกันในระหว่างทาง และแม้กระทั่งกองทัพทหารของ ตั๋งโต๊ะ เองก็ยุ่งเหยิงขาดระเบียบวินัย 

มีกองกำลังส่วนหนึ่ง เป็นทหารม้าชนต่างเผ่าชนเผ่า หู (โอ้ว..ทหารม้าชนเผ่า ซงหนู ใต้) ได้มาร่วมปล้นชิง บ้านเมืองมีสภาพไร้กฎระเบียบ มิมีเขื่อนมีแปล 

บุ่งกี นางก็ได้รับกับสภาพนี้ด้วยนางเอง เป็นเหตุการณ์อันชั่วร้ายครั้งหนึ่งในชั่วชีวิตของนาง ซึ่งมิอาจลืมเลือน 

มีบางคนกล่าวว่า นางได้ถูกจับตัวไปในท่ามกลางการชุลมุนวุ่นวายในครั้งนั้น แต่เมื่อพิจารณาดูตามสภาพจริงทางประวัติศาสตร์ 

ชัวหยหง มีความสนิทสนมและรับราชการมีตำแหน่งอันสูงส่งกับ ตั๋งโต๊ะ จึ่งได้รับอิทธิพลการคุ้มครองจาก ตั๋งโต๊ะ ทั้งครอบครัว 

แต่บุตรีกลับถูกตนชนเผ่า หู คร่ากุมจับตัวไป และกลุ่มชนเผ่า หู นี้ ก็เป็นบริวารของ ตั๋งโต๊ะ 

นาง ชัวบุ่งกี ถูกชาว หู จับไปในช่วงนี้ย่อมเป็นไปมิได้ เพราะว่า ชัวหยง เมื่อย้ายตาม ตั๋งโต๊ะ ไป ณ นคร ฉานอาน ย่อมนำบุตรีติดตามไปด้วย ดั่งนั้น การที่นางถูกชาว หู จับไปเป็นเชลย มิใช่อยู่ในเหตุการณ์ช่วงนี้แน่นอน 

และเมื่อภายหลังย้ายไปอยู่ ณ นคร ฉานอาน ทางเมืองหลวงก็ยังได้เกิดเหตุความวุ่นวายภายใน 

โดยขุนนางตำแหน่ง ซีถู (ซีทู้) หวางยุน (เฮ่งอุง..อออุ้น) คิดโค่นแย่งชิงตำแหน่งมหาอุปราชกับ ตั๋งโต๊ะ ได้ร่วมมือกับ ลิโป้ ร่วมกันคิดวางแผนสังหาร ตั๋งโต๊ะ 

ชัวหยง ได้ไปเคารพศพร้องไห้คิดถึงบุญคุณของ ตั๋งโต๊ะ จึ่งถูก อองอุ้น จับประหาร 

แต่ทว่า อองอุ้น ก็มิมีความสามารถจัดการความสงบภายในนคร ฉานอาน ได้ นคร ฉานอาน ได้เกิดความจลาจลวุ่นวายอีก 

โดยทหารชาวเผ่า ซงหนูใต้ บริวารของ ตั๋งโต๊ะ ได้พากันบุกปล้นแย่งชิงชาวเมือง นคร ฉานอาน ภายใต้ความมิสงบนี้ ชัวบุ่งกี สตรียอดปัญญาชน ก็ถูกชาว หู จับไปเป็นเชลยในช่วงนี้ เป็นการเริ่มหน้าประวัติศาสตร์ความทุกข์ยากของนาง 

สภาพจิตใจของนางยามนี้ นางต้องจากบ้านเมืองมาสู่แดนไกล อีกทั้งเสียบิดา 

นางต้องใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวภายในชนเผ่าของคนต่างชาติ โดยวัยของนางขณะนั้น ประมาณว่ามีอายุ 22 - 23 ปี 

ชัวบุ่งกี ในแดน ซงหนู ถูกชนเผ่า หู จับแต่งนางเป็นภรรยา 

เกี่ยวกับรูปร่างความสวยงามของนาง แม้นตามประวัติศาสตร์มิมีการบันทึก แต่คาดจากการดำรงชีพในฐานะภรรยาของชาว หู นั้น นางต้องจัดว่าเป็นหญิงงามคนหนึ่ง และจากการอบรมเลี้ยงดูอย่างดีจากบิดาโดยทะนุถนอม เข้าใจว่า นางมิใช่หญิงขี้เหร่ ที่มิมีใครรักใคร่ชื่นชม นี่จึ่งเป็นหลักฐานที่พอยืนยันได้ 

สำหรับพฤติกรรมของชนเผ่า ซงหนู นั้น เมื่อจับชาว ฮั่น ไปเป็นเชลย ก็มักใช้สอยให้ทำงานในฐานะข้าทาส เหล่าข้าทาสที่เกิดมาในชนเผ่าและที่จับมาได้ ล้วนมีอยู่ในขนมธรรมเนียมของชนเผ่า ซงหนู 

ดั่งนั้นเหล่าข้าทาสทาสในเรือนเบี้ยจึ่งมีจำนวนมาก เมื่อแรกเริ่มนาง ชัวบุ่งกี ถูกชาว ซงหนู จับตัวไป นางถูกใช้สอยทำงานหนักในฐานะข้าทาสอย่างไรมิมีทางรู้ 

แต่เมื่อนางได้ตกแต่งเป็นภรรยาของชาว ซงหนู ฐานะความเป็นอยู่ของนาง จึ่งดีกว่าเหล่าข้าทาสทั่ว ๆ ไป 

ถามว่าทำไมชาว ซงหนู ถึงจับนางตกแต่งเป็นภรรยา ต้องขอตอบว่า หน้าตารูปทรงของนางต้องพอดูได้เป็นที่แตะตาของคน ซงหนู 

หรือว่าคน ซงหนู รู้ดีถึงฐานะผู้ดีดั้งเดิมของนาง โดยเป็นบุตรีของ ชัวหยง คนสนิทของ ตั๋งโต๊ะ 

ดั่งนั้น นางจึ่งมิรู้ทุกข์ร้อนถึงความยากลำบากภายในชนเผ่าของ ซงหนู นางดำรงชีพไปวัน ๆ อย่าปกติสุข มินานนางก็ได้ให้กำเนิดบุตรบุตรีแก่สามีชาว ซงหนู 

นางคงคิดใช้ชีวิตกับชาว ซงหนู จนสิ้นชีพ แต่คาดมิถึงว่า 

โจโฉ เป็นอีกมิตรสนิทคนหนึ่งของ ชัวหยง บิดาของนาง โจโฉ ได้ใช้ทองคำและหยกถ่ายตัวนางออกมาจากค่ายของชนเผ่า ซงหนู 

เดิมที โจโฉ และ ชัวหยง เป็นเพื่อนสนิทรักกันอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพราะ โจโฉ ก็เป็นคนที่ต้องการใฝ่ศึกษาหาความรู้ และหลงใหลในบทกวี จึ่งได้ไปเยี่ยมเยียนเป็นแขกของ ชัวหยง หลายครั้งหลายหน 

แต่ในชั้นหลัง โจโฉ มีความขัดแย้งกับ ตั๋งโต๊ะ และ ชัวหยง ได้เข้าข้างและยอมทำราชการกับ ตั๋งโต๊ะ เพื่อนทั้งสองจึ่งต้องห่างเหินกันไป 

เมื่อ โจโฉ ขึ้นมาครองอำนาจ และได้ข่าวถึงชะตากรรมของ ไฉป๋อจี้ (ชัวหยง) และบุตรีถูกพวก ซงหนู จับตัวไป 

โจโฉ มีความสังเวชที่ ชัวหยง ยังมิมีบุตรหลานสืบสกุล โจโฉ จึ่งได้ไถ่ตัวนาง ชัวบุ่งกี จากพวกชนเผ่า ซงหนู เพื่อเป็นทายาทสืบตระกูลให้แก่ ชัวหยง 

มิให้ชนชาติ ฮั่น ของนาง ถูกกลมกลืนไปกับชนชาติ ซงหนู นางจึ่งได้กลับมาถือสันชาติของแผ่นดินแม่ 

โจโฉ ได้ปฏิบัติกับนาง ชัวบุ่งกี อย่างดียิ่ง 

เมื่อนางกลับมาประเทศจีน นางได้พักอาศัยอยู่บ้านเดิมของนาง ณ เมือง เฉินหลิว (ตั่งลิ้ว) 

และเมื่อ โจโฉ ได้ไปเยี่ยมเยียนนาง มีเรื่องราวการบันทึกระหว่าง โจโฉ กับนาง ชัวบุ่งกี คือ 

เมื่อสมัยปลายยุคของราชวงศ์ ฮั่น ชัวหยง ได้แต่งและเก็บหนังสือไว้จำนวนมาก แต่เมื่อเกิดความจลาจลทางบ้านเมือง ห้องสมุดหนังสือของเขาได้รับความเสียหาย เหล่าหนังสือจำนวนมากหายสาบสูญไป 

โจโฉ รู้ดีว่านาง ชัวบุ่งกี เป็นสตรีมีปัญญาและมีพรสวรรค์ โจโฉ ได้สอบถามนางถึงห้องสมุดของบิดา 

นางกล่าวว่า ห้องสมุดเสียหาย เหล่าหนังสือที่บิดารวบรวมไว้สูญหายหมดสิ้น 

แต่นางยังสามารถจดจำบทความของบิดาได้ถึง 400 กว่าบท 

โจโฉ ฟังแล้วยินดียิ่ง จะให้คนมาเขียนคัดลอกตามคำบอกเล่า แต่นาง ชัวบุ่งกี กล่าว่ามิต้อง นางจักเขียนออกมาด้วยลายมือของนางเอง 

มินาน นางก็ได้เขียนลอกบทความของบัณฑิตเก่าที่นางจำได้ออกมา 400 กว่าบทมอบให้แก่ โจโฉ ซึ่งบทความทั้ง 400 กว่าบทนี้ มีคุณค่ามหาศาลแก่เหล่านักศึกษาในชั้นหลัง 

อีกเรื่อง เป็นเรื่องของป้ายหลุมศพที่เขียนโดยนาง เชาเอ๋อ (เฉ่าง้อ) ด้วยเมื่อบ้านเมืองเกิดจลาจล ชัวหยง ได้หลบภัยไปในดินแดน ง่อ ได้พบป้ายหลุมศพซึ่งเขียนโดยนาง เชาเอ๋อ 

ขณะนั้น เป็นเวลาโพล้เพล้ใกล้ค่ำมืด ชัวหยง มิสามารถมองเห็นตัวอักษรบนป้าย จึ่งได้ใช้มือลูบคลำอักษรบนป้าย อ่านได้ความว่า 

หวงจวนอิ้วฟู่ว่ายซุนจี้ขู (อึ่งเกียงอิ้วหูงั่วซุงจีคู..ผ้าเหลืองบุตรีคนเล็กหลานนอกสร้างถวาย) เป็นตัวหนังสือ 8 ตัว 

คนทั่วไปต่างนำหนังสือ 8 ตัวนี้มาแกะสลักทำป้ายอนุสรณ์ 

เมื่อ โจโฉ มาเยี่ยมเยือนนาง ชัวบุ่งกี ก็ได้เห็น 8 ตัวอักษรนี้ ก็ได้สอบถามความหมายของหนังสือนี้ทั้ง 8 ตัว 

นาง ชัวบุ่งกี รู้ว่า โจโฉ เป็นนักอักษรศาสตร์ชั้นเยี่ยม จึ่งได้ตั้งใจลองภูมิ ตอบยิ้ม ๆ ว่าตนเองก็มิทราบ 

แต่บัณฑิตปากพล่อย หยานซิว (เอี่ยซิว..เอียวสิ้ว) ได้กล่าวตีความแก่ โจโฉ ว่า 

อันตัวหนังสือทั้ง 8 นี้ ตีความเป็นตัวอักษร 4 ตัวว่า 

จั๋วเมี่ยวเห่าซี (เจาะเมี่ยวฮ่อซี้..ประเสริฐสุดการล่ำลา) 

หวงจวน (อึ่งจวง) แปลว่าผ้าเหลือง เหลืองก็คือสี ซื่อ (เส็ก) 

เมื่อคำว่า ซื่อ (เส็ก..สี) มาผมสมกับตัวอักษร ซือ (ซี..ผ้า) ก็เป็นตัวอักษร จั๋ว (เจาะ..สุด, ที่สุด) 

อิ้วฟู่ (อิ้วหู..บุตรีคนเล็ก), บุตรีตรงกับคำว่า หนิ่น (นึ่ง) ว่ายซุน (งั่วซุง..หลานนอก) คือบุตรของบุตรี ตรงกับคำว่า จื่อ (จื้อ..บุตร) เมื่อคำว่า หนิ่น นึ่ง รวมกับคำว่า จื่อ (จื้อ) เป็นอักษร เมี่ยว (เมี่ยว) แปลว่าประเสริฐ 

จี้ขู (จีคู) คือเครื่องเซ่นสมัยโบราณ โดยมีคำว่า ซิน (ซิง) เมื่อคำว่า ซิน (ซิง) 2 ตัวอักษรรวมกัน กลายเป็นตัวอักษร ซี (ซี) แปลว่าอำลา 

ดั่งนั้นจึ่งกลายเป็นอักษร 4 ตัวคือ จั๋วเมี่ยเห่าซี (เจาะเมียวฮ่อซี้..ประเสริฐสุดการร่ำลา) 


หมายเหตุ : ด้วยน้อง ๆ ที่ยังมิรู้ความหมายเกี่ยวกับอักษรจีน บทความตอนนี้คงเป็นที่สับสนอ่านมิรู้เรื่อง ขอให้อ่านข้ามตอนไป แต่สำหรับผู้แก่กล้าทางภาษาจีน บทความท่อนนี้มีความหมายอันลึกซึ้งยิ่ง แต่มิใช่การสอนภาษาจีนนะ 

บทความเรื่องราวเช่นนี้ หลิวอี้ซิ่น (เล่างี่เข่ง) นักเขียนจีนรุ่นใหม่ เขาได้วิจารณ์ว่า 

เกี่ยวกับ โจโฉ ถอดความหมายอักษรจีนนั้น มิได้เกี่ยวข้องกับนาง ชัวบุ่งกี 

เมื่อตอนที่ โจโฉ กับ เอียวสิ้ว เดินทางผ่านเมือง ฮุ่ยจี (ห่วยกี..ห้อยแข) ยังมิทันเข้าแดน กังหนำ 

หนังสือ ซานกว๋อเหยี่ยนอี้ (ซำกกเอี่ยงหงี..ฉบับนวนิยาย) ได้ผนวกตอน โจโฉ ถอดความหมายตัวอักษรจีน กับนาง ชีวบุ่งกี รวมเป็นเรื่องเดียวกัน 

นอกจากนี้ โจโฉ ยังได้เป็นพ่อสื่อหาสามีคนใหม่ให้แก่นาง ชัวบุ่งกี 

สามีคนที่ 3 ของนาง ชัวบุ่งกี เป็นขุนนางในตำแหน่งดูแลที่นาการเพาะปลูก ต่งซี (ต่งสือ) ต่งซี คงจักเป็นคนมีความสามารถ เมื่อแต่งนาง ชัวบุ่งกี หญิงปัญญาเลิศเป็นภรรยา จึ่งเข้ากันได้ 

แต่ด้วยว่านางได้ผ่านชีวิตการผจญภัยอันโลดโผนมามาก ชีวิตคู่การแต่งงานในชั้นหลัง จึ่งมิค่อยอบอุ่น 

อนึ่ง ชีวิตคู่ของนาง ชัวบุ่งกี ค่อนข้างมีอุปสรรค์ ต่งซี มีความผิดต้องโทษปะหาร แต่นาง ชัวบุ่งกี มิยอมเป็นม่ายอีก 

นางได้รีบเข้าหา โจโฉ ขอร้อง โจโฉ ไว้ชีวิตแก่สามีของนาง โจโฉ รำลึกถึงอดีตเห็นแก่หน้าของ ชัวหยง บิดาของนาง จึ่งได้ยินยอมอภัยโทษให้แก่ ต่งซี 

ตั้งแต่นั้นมา นาง ชัวบุ่งกี ก็ได้ใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข 

ผลงานของนาง ชัวบุ่งกี ซึ่งได้ตกทอดมาสู่คนชั้นหลังที่สำคัญ ได้แก่บทกวี เปยเฟินซี (ปุยฮุงซี..ความแค้นอันเศร้าโศก) นางได้รำพันถึงวิถีชีวิตอันโหดร้ายของนาง เป็นบทกวีโบราณ 5 คำ เปยเฟินซี จึ่งยากแก่การขับขาน 

ในชั้นหลัง บทกวีของมหากวี ตู้ผู่ (โต่วโพ่ว) คือ ฟงเซินหย่งซวน (ฮงไซย่งซึง), เป่ยเสิ่น (ปักเจ็ง) ฯ ล ฯ 

ล้วนมีที่มาจากบทกวี เปยเฟินซี ของนาง แม้นว่าจักมิล้ำเลิศดั่งผลงานของนาง ชัวบุ่งกี 

แต่ก็ได้สร้างชื่อเสียงอันโด่งดังแก่ ตู้ผู่ ซึ่งถูกยกย่องเป็นปรมาจารย์ทางบทกวี แต่แม้ว่าบทกวีของนาง ชัวบุ่งกี จักล้ำค่ากว่าบทกวีของ ตู้ผู้ แต่ผู้คนกลับรู้จักและนิยมกันน้อยยิ่ง 

ด้วยบทกวีอันยืดยาวโบราณนี้ เป็นยอดหัวกระทิในวงวรรณกรรมของจีนทีเดียว 

บทกวี เปยเฟินซี ของนาง ชัวบุ่งกี ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ริเริ่มตั้งแต่ ตั๋งโต๊ะ ได้ย้ายเมืองหลวงไป ณ นคร ฉานอาน กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ชุลมุนวุ่นวาย และการเริ่มต้นชีวิตอันขมขื่นของนาง ดั่งความในบทกวีของนางว่า 

เนื่องจากมีแขกขาจรนามว่า "จางหลียง" ได้เสนอแนะหนังสือตำราพิชัยสงคราม "ลิ่วเทา" อันเป็นหนังสือพิชับสงครามเล่มแรกของจีน โดยมีสมาชิกท่าน คลั่ง ฯ ได้อธธิบายว่า เป็นหนังสือพิชับสงครามเล่มเดียวกันกับฉบับ "ไท่กง" โดยแม่ทัพ เตียวเหลียง ได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านผู้เฒ่า ศิลาเหลือง หวงสือกง (อึ่งเจี๊ยะกง) 

บัดนี้ ผมได้รับต้นฉบับของหนังสือ "ลิ่วเทา" มา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาจีนโบราณ กู่เหวิน (โก่วบุ้ง) แต่นักศึกษาจีนรุ่นใหม่ได้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาจีนปัจจุบัน ซึ่งอ่านง่าย และซาบซึ้งในรายละเอียด เป็นหนังสือซึ่งท่านขุนพลเฒ่า ในยุคสมัยราชวงศ์ โจว (จิว) เจียนจื่อเหยา (เกียงจื่อแง้) ได้สนทนาธรรมกับพระเจ้า โจวเหวินหวาง (จิวบุ่งอ้วง..จิวบุนอ๋อง), และโอรสพระเจ้า โจวอู่หวาง (จิวบู่อ๊วง..จิวบู้อ๋อง) โดยแสดงความละเอียดทั้ง ตรรกะ, ปรัชญา, รัฐศาสตร์, พาณิชย์ศาสตร์, ทศพิสราชธรรม, ยุทธศาสตร์, ความอยู่เย็นเป็นสุขของราษฎร, ฯ ล ฯ อันต้องกับนโยบายของในหลวงของเราในปัจจุบัน เป็นหนังสือที่ต้องด้วยพิชัยยุทธ 6 หมวด 60 ตอน 

ขณะนี้ ผมได้ตั้งใจศึกษาและค้นคว้า และจักนำมาแปลและเรียบเรียงในภายหลังตามแต่โอกาสและเวลาที่พออำนวยให้ เพราะขณะนี้ ความตั้งใจของผม ต้องการทำ "สามกก๊ก" ฉบับประวัติศาสตร์ให้แล้วเสร็จสินสมบูรณ์ 

หากมีสมาชิกท่านใด ต้องการทราบรายละเอียดของตำราพิชัยยุธ ลิ่วเทา ล่วงหน้า กรุณาสอบถามรายละเอียดกับผมได้โดยทางส่วนตัวครับ.. 

“พระราชสำนักสิ้นอำนาจ ทรราชย์ ตั๋งโค๊ะ กุมอำนาจ ชิงราชสมบัติจลาจล เข่นฆ่าผู้มีคุณธรรม บีบให้มาเข้าร่วม ย่ำกษัตริย์ขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ ผู้กล้าคุณธรรมภายใน มิอาจต่อต้าน (บทความนี้กล่าวถึง ตั๋งโต๊ะ ครองอำนาจก่อนย้ายเมืองหลวง)” 

“โต๊ะ ลงจากราชรถ แสงวาววับด้วยเกราะสีทอง เหล่าขุนนางคุกเข่าก้มคำนับ ทหารเถื่อนชาติ หูเจียน (โอ่วเกียง) อหังการคุมทั่วเมือง เตรียมประหารฟาดฟัน เหล่าประชาวิญญาณเร่ร่อน ซากศพกองเรี่ยราด หน้าอาชาเหยียบย่ำศีรษะชาย หลังอาชาทอดทิ้งร่างหญิง (บทความนี้ แสดงถึงเคราะห์กรรมของประชาชน และยังหมายถึง ภายหลังที่ ลิฉุย, กุยกี, นำกองทัพชนเผ่า หู มาเหยียบย่ำ)” 

“คนเถื่อนบุกเข้าด่านตะวันตก ขากลับยังน่าเกรงกลัว จิตใจยังฝอดฝ่อ อวัยวะภายในยากต้านรับ แม้นความคิดแผนมากมาย แต่ก็มิกล้าแสดงออก เลือดเนื้อถูกปองร้าย มีปากมิกล้าเอ่ยเอื้อน ความหวังหมดสิ้นแล้ว ณ วันนี้ เพียงแค่ชีวิตรอดยอมสวามิภัคดิ์ แม้นถูกจับตัวเป็นเชลยก็ยอม อย่าให้ถูกคมดาบประหัตประหาร ข้านั้นรักตัวกลัวตาย ปกปักษ์รักษาชีวิต แม้นเอ่ยโอษฐ์ไปก็เปล่าประโยชน์ รอดจากคมหอกจ่อคอหอย ติดตามคนเถื่อนไป ยามค่ำคืนสลดใจมิรู้อนาคต นึกอยากตายก็มิสมควร จักเกิดใหม่ก็แสนยากลำบาก จึ่งจำต้องรับผลกรรมในอดีต (บทความนี้เขียนขึ้นเมื่อนางถูกจับเป็นเชลย)” 

“เขตแดนแตกต่างจากชาว ฮั่น ขนมธรรมเนียมคุณธรรมแตกต่างกัน อยู่อาศัยท่ามกลางละอองหิมะ ลมเยือกแดนชาว หู พัดกระหน่ำในกายข้า หูอื้อตาลายหนาวสั่น ห้วงสมองนึกถึงบิดามารดา ทอดถอนอารมณ์มิสิ้นสุด เมื่อมีแขกจากต่างเมืองมา เงี่ยหูฟังข่าวคราวด้วยความยินดี ใคร่รู้สอบถามถึงแผ่นดินแม่ (เป็นบทกวีที่เขียนบรรยายถึงสถานภาพในดินแดนชนเผ่า ซงหนู)” 


"เมื่อยามจากเข้าสู่ดินแดนแม่ เลือดเนื้อเชื้อไข้ล้วนมาปลอบโยน บุตรบุตรีมาร้องไห้รำพัน ฟ้าหนอช่างไร้ปราณี เหตุไฉนต้องพลัดพรากแล้วพลัดพรากอีก การพลัดพรากมิมีที่สิ้นสุด มิรูจักกล่าวคำอำลา (บทกวีนี้ เขียนเมื่อตอน โจโฉ ส่งคนมารับตัวนางกลับแดน ตงหงวน)” 

“บุตรได้กอดลำคอข้าไว้ ถามมารดาว่าจักไปไหน สุดตื้นตันคำกล่าวของมารดา กล่าวล่ำลาอาลัยจาก มารดามีความจำเป็น จงอย่าโทษความมิมีน้ำใจของมารดา เจ้ายังมิเจริญวัย จงอย่าคิดมากไป ชีวิตเจ้านั้นอนาคตไกล แต่มารดาใกล้สิ้นสุด ขอลูบคลำเป็นครั้งสุดท้าย วาสนาของเราคงได้พบกันอัก (นี่คือบทกวีที่ต้องจากบุตรของนางในดินแดน ซงหนู)” 

“ยามใกล้จากกันนี้ ล่ำลาโบกมือกัน ข้าเมื่อไหร่จักได้กลับมาอีก ส่งเสียงร่ำไห้กันด้วยอาลัย แต่รถม้ากลับรอคอย รอข้าหันหลังกลับ สุดซึ้งอาลัยจาก หนทางนั้นระยะไกล (นี่เป็นบทกวีกล่าวอำลาชนเผ่า ซงหนู)” 

“ไปไปแล้วจิตอาวน กาลเวลานั้นยาวมิสิ้นสุด ระยะทางแค่ 3,000 ลี้ เวลาไหนบ้างจักได้ประสบอีก ดวงใจข้านี้ย่อยสลาย (นี่คือบทอำลาในระหว่างทางกลับเมืองแม่)” 

“บ้านเดิมนั้นว่างเปล่า ข้างนอกในเงียบสงัด บ้านเมืองดั่งป่าพงไพร กระดูกขาวนั่นของใคร เหตุไฉนทิ้งเรี่ยราด บนล่างเงียบสงัด บ้านเข้าออกมิมีเสียงคน ต้อนรับขับสู้ไฉนคารวะ แสนเปล่าเปลี่ยวเศร้าหัวใจ (นี่คือบทกวีที่นางกลับมาบ้านเดิม สลดในมิมีคนบริวารต้อนรับดั่งเดิม)” 

“เงยหน้าสู่เบื้องบน เหล่าเทพวิญญาณต่างเหิรบิน หากชีวิตข้าสิ้นสุด จักมีใครอาลัยวล (นี่คือบทกวีที่นางเขียนทอดอาลัยยามเมื่อกลับบ้านเดิม และด้วยความปรารถนาดีของ โจโฉ นางจึ่งมีความหวังในชีวิตใหม่ และด้วยนางได้แต่งงานมีสามีใหม่ ต่งซี คือความหวังใหม่อันยิ่งใหญ่ของนางในช่วงชีวิตที่เหลือ)” 

“คนเราวนเวียนในวัฏฏะจักร มิสิ้นสุดด้วยกรรมบันดาล ชีวิตคนเราดีชั่วนั้น เมื่อสิ้นสุดหยุดลมหายใจถึงใคร่รู้ (เป็นบทกวีอำลาครั้งสุดท้ายของชีวิตนาง นางเขียนกล่าวบรรยายความทุกข์สุขของนางตลอดชั่วชีวิต อนาคตของนางยังมือมนต์ นี่แหละเป็นสัจจะธรรมของชีวิต)" 

ชั่วชีวิตของนาง ชัวบุ่งกี แม้นจักลุ่ม ๆ ลอน ๆ แต่นางก็เป็นหนึ่งในวีรสตรีในวงวรรณกรรมของจีน

หวงเย่อิง (ภรรยาขงเบ้่ง)

หวงเย่อิง 

สามก๊กไทยเรียกนางอุ๋ยซี ในประวัติศาสตร์เขียนถึงนางว่า “เส้นผมสีเหลืองซีด ผิวกายดำคล้ำ ใบหน้าตะปุ่มตะป่ำเพราะฝี” ดู อย่างไรก็ไม่ใช่ผู้หญิงสวย แต่ความเฉลียวฉลาดของนางไม่เป็นรองใคร เล่ากันว่าขงเบ้งเมื่อยามบุกภาคเหนือเนื่องจากต้องการ แก้ปัญหาการขนย้ายเสบียงก็เลยใช้ [วัวไม้ม้าวิ่ง] รวมกับ [รถธนู] ที่โจมตีได้หนักหน่วงรุนแรง ตอนที่รุกทางใต้บุก เมิ่งฮั่ว นั้นการ กิน [ยาผงขงเบ้งเดินทัพ] และ [ยาเม็ดมังกรไสยาสน์] เพื่อหลีกเลี่ยงหมอกพิษ ล้วนแต่เป็นความคิดของหวงเย่อิง หญิงประหลาดผู้นี้ ไม่เพียงมีมือที่วิเศษ 1 คู่ และมีความสามารถในการจัดบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็จัดการได้อย่างเรียบร้อย ช่วยให้ ขงเบ้ง ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ในขณะเดียวกันก็เป็นกำลังหลักที่เข้มแข็งยามเขาปฏิบัติภารกิจ
อุยซี เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ภรรยาของจูกัดเหลียง บุตรสาวของเสิงเอี้ยน เป็นชาวเมืองซงหยง มณฑลหูเป่ย อุยซีมีรูปร่างขี้ริ้ว แต่มีความฉลาด ไหวพริบปฎิภาณเป็นเยี่ยม เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์ โหราศาสตร์และยุทธศาสตร์ มีบุตรชายกับจูกัดเหลียง 1 คน คือ จูกัดเจี๋ยมลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เอียนสีเป็นหญิงสาวรูปชั่วตัวดำ หน้าออกฝี มีลักษณะวิปริต ทั้งกายจะหางามสักสิ่งหนึ่งก็มิได้ แต่ทว่ามีสติปัญญาพาทีหลักแหลม รู้วิชาการในแผ่นดินและอากาศ ขงเบ้งเห็นดังนั้นจึงเลี้ยงเป็นภรรยา ได้บอกศิลปะทั้งปวงให้นางนั้นเป็นอันมาก ครั้งขงเบ้งถึงแก่ความตายก็เป็นม่ายอยู่นอกจากในสามก๊กฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แล้ว มีการกล่าวถึงนางอุยซีในอีกแง่หนึ่งซึ่งแตกต่างออกไป โดยบางที่มาอ้างอิงถึงนางอุยซีว่านางมีนามเต็มว่า หวงเยวี่ยอิง (???) ซึ่งชื่อของนางที่เสิงเอี้ยนเป็นผู้ตั้งให้นั้น แปลว่า จันทร์กระจ่าง หมายถึงสติปัญญาอันฉลาดเฉลียวจนเกินยิ่งกว่าหญิงใดๆ ในวัยเดียวกันนั้นเอง ลักษณะของอุยซีนั้นมิได้อัปลักษณ์จนเกินงามมากนัก เพียงแต่มีสีผิวที่เหลืองเข้มมากจนค่อนไปทางดำคล้ำเท่านั้น ทว่าสิ่งที่จูกัดเหลียงมองเห็นในตัวของอุยซีนั้น คือความงามจากภายใน การเจรจาพาทีที่สามารถชักจูงให้ผู้คนคล้อยตามโดยง่าย ความรอบรู้ฉลาดเฉลียว ทำให้นางงามล้ำโดดเด่นยิ่งกว่าหญิงใดๆ นอกจากการเจรจาพาทีอันชาญฉลาด อุยซียังมีความชำนาญในการเรียนรู้และถ่ายทอดอีกด้วย นางได้พัฒนาพาหนะที่จูกัดเหลียงประดิษฐ์ขึ้น และส่งต่อวิทยาการนั้นสู่อนุชนรุ่นหลังจนกลายเป็นที่กล่าวขานในจิงโจวสืบมาจนปัจจุบัน
นอกจากชื่อเดิมของนางแล้ว อุยซี หรือหวงเยวี่ยอิง ยังมีอีกชื่อหนึ่ง คือ หวงว่าน อันหมายถึงผู้มีปัญญาอันล้ำเลิศ ความฉลาดเฉลียวของนางไม่ได้ด้อยไปกว่าบิดาเสิงเอี้ยน และเสอปิ่งผู้เป็นพี่ชายเลย ในบทประพันธ์ของหลอกว้านจงมีการกล่าวถึงนางอีกด้วย รวมทั้งชื่อของนางยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นสตรีผู้มีความสามารถสูงส่งแห่งยุค ส่วนที่มีการกล่าวว่านางเป็นสตรีที่อัปลักษณ์ ผมเหลือง ผิวดำนั้น มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการกล่าวให้ร้ายจากผู้ที่ริษยาในความเก่งกาจสามารถผิดจากหญิงใดๆ ในยุคเดียวกันมากกว่า ซึ่งก็น่าจะมีส่วน เพราะสตรีจีนที่มีความเก่งกาจโดดเด่น ส่วนใหญ่มักถูกพาดพิงถึงในแง่ลบอยู่เสมอ
นอกจากความสามารถในด้านต่างๆ แล้ว อุยซียังเป็นที่ปรึกษาที่ดีของจูกัดเหลียง นางมักจะเศร้าโศกไปด้วยทุกครั้งที่จูกัดเหลียงกลัดกลุ้มใจ นางมีความปรารถนาดีต่อจูกัดเหลียงอย่างลึกซึ้ง นอกจากจะเป็นภรรยาที่ดีแล้ว อุยซียังเป็นแม่ที่ดีอีกด้วย เรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับความรักระหว่างอุยซีและจูกัดเหลียงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่งดงามที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว ในพงศาวดารบันทึกไว้ว่า หลังจากจูกัดเหลียงตายจากไปแล้ว อุยซีได้ตรอมใจและตายตามไปในเวลาไม่นาน เรื่องของอุยซีจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงความภักดี และความกตัญญู ที่คนรุ่นหลังควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เสี้ยนเกียว(ภรรยาจิวยี่)


เสี้ยนเกียว

เสียวเกี้ยว (อังกฤษ: Xiao Qiao; จีนตัวเต็ม: 小喬; จีนตัวย่อ: 小乔) เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรีคนรองของเกียวก๊กโล เป็นน้องสาวของไต้เกี้ยว ทั้งนางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยวได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องความงดงามในดินแดนกังตั๋ง ต่อมาเสียวเกี้ยวได้แต่งงานกับจิวยี่

ไต้เกียว (ภรรยาซุนเซ๊ก)

ไต้เกี้ยว


ไต้เกี้ยว (อังกฤษ: Da Qiao; จีนตัวเต็ม: 大喬; จีนตัวย่อ: 大乔) เป็นตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรีคนโตของเกียวก๊กโล เป็นพี่สาวของเสียวเกี้ยว ทั้งนางไต้เกี้ยวและเสียวเกี้ยวได้รับการกล่าวขวัญในเรื่องความงดงามในดินแดนกังตั๋ง ต่อมาไต้เกี้ยวได้แต่งงานกับซุนเซ็ก